วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เกี่ยวกับ Generator เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ






เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)
1.จุดประสงค์การใช้งาน เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับ
เพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 1 แสดงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก
รูปที่ 2 แสดงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลางที่มีใช้กันตามโรงพยาบาลโดยทั่วไป

2. หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการ
หมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือการหมุนสนามแม่เหล็กตัดขดลวด
ลักษณะทั่วไปของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternator)
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง (Dynamo)
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ

2.1. เครื่องต้นกำลัง เป็นส่วนที่ผลิตพลังงานกลขึ้นมา เพื่อหมุนเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น
- กังหันน้ำ ได้แก่ เขื่อนต่าง ๆ
- กังหันไอน้ำ ได้แก่ การนำเอาน้ำมาทำให้เกิดความร้อนแล้วนำเอาไอน้ำไปใช้งาน
- กังหันแก๊ส มีแบบใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลเพราะราคาถูก

รูปที่ 3 หลักการพื้นฐานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิด AC

2.2. Generator เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กมีหลายแบบดังนี้
2.2.1 แบบทุ่นหมุน Revolving Armature Type (Ra Type)
แบบนี้ใช้วิธีหมุนขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนเพลาหมุนตัดผ่านเส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่บนเปลือก
ทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดง นำเอาแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งานโดยผ่าน Slip Ring (วง
แหวนทองเหลือง) และแปรงถ่าน ขั้วแมเ่หล็กที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ ไมไ่ ด้เป็นแม่เหล็กถาวรหรือ
แม่เหล็กธรรมชาติที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กคงที่ แต่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงป้อนผ่านขดลวดทองแดงที่
พันรอบแกนเหล็กอ่อน เพื่อทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรงนี้จึงสามารถ
ควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ โดยการเพิ่มหรือลดปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรง
2.2.2 แบบขั้นแม่เหล็กหมุน Revolving Field Type (Rf Type)
แบบนี้ใช้วิธีหมุนขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดทองแดงที่พันติดอยู่
บนเปลือก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบนปลายขดลวดทองแดง แบบนี้ไม่ต้องมี Slip Ring และแปรงถ่าน เพื่อ
นำแรง
ดันไฟฟ้าไปใช้งาน แต่มีแปรงถ่านและ Slip Ring ต่อกับขดลวดทองแดง ที่พันอยู่บนแกนแม่เหล็ก เพื่อ
ใช้สำหรับป้อนไฟฟ้ากระแสตรงไปเลี้ยงขดลวดทองแดง เพื่อสร้างความเข้มของสนามแม่เหล็ก



รูปที่ 4 แสดงให้เห็นโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ใช้ในโรงพยาบาล


2.2.3 แบบไม่มีแปรงถ่าน Brushless Type (Bl Type)
แบบนี้แบ่งตามขั้นตอนการทำงานออกเป็นส่วน ๆ ได้ 4 ส่วน คือ
ก. Exciter ประกอบด้วย
- Exciter Field Coil เป็นขดลวดที่ทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะติดอยู่กับ
ส่วนที่อยู่กับที่
- Exciter Armature เป็นชุดที่ประกอบด้วยขดลวดที่จะถูกทำให้เกิดกระแส
ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ โดยเป็นส่วนที่ติดอยู่กับเพลาและหมุนไปพร้อมกับเพลา
กระแสที่เกิดขึ้นใน Exciter Armature จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส
ข. Rotating Rectifier จะติดอยู่บนเพลาจึงหมุนตามเพลาไปด้วย มีหน้าที่แปลง
กระแสไฟฟ้าสลับที่เกิดจาก Exciter Armature ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
ค. Main Generator
เป็นส่วนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อออกไปใช้งานจริง ประกอบด้วย
112
- Rotating Field Coil เป็นขดลวดที่พันรอบแกนเหล็กที่ติดกับเพลาเพื่อทำให้
เหล็กกลายเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้รับไฟฟ้ากระแสตรงที่ป้อนมาจาก
Rotating Rectifier
- Stator Coil (Alternator Armature)
เป็นขดลวดที่จะถูกทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นและจ่ายกระแสไฟฟ้าสลับออก
ไปใช้งาน
ช. Automatic Voltage Regulator (A.V.R.)
เป็นชุดควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่นำไปใช้งานให้คงที่ ซึ่งเป็นการทำงานควบคุมอย่าง
อัตโนมัติ หลักการทำงานของ A.V.R. เป็นการนำกระแสสลับที่เกิดจาก Stator Coil มา
แปลงเป็นกระแสตรง จ่ายเข้า Exciter Field Coil โดยปริมาณกระแสตรงจะมีการ
ควบคุมให้มากหรือน้อยตามสภาพการณ์ของแรงดันไฟฟ้าจาก Stator Coil โดยเป็นไป
อย่างอัตโนมัติ
Automatic Voltage Regulator

รูปที่ 5 แสดง Block Diagram of Brushless A.C. Generators




รูปที่ 6 แสดงวงจรการทำงานของชุดกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งเครื่องขนาดใหญ่
ก็ใช้หลักการเดียวกัน

                       รูปที่ 7 แสดง stator coil และ rotor winding ของชุดกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก

ระบบสายส่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- ระบบ 1 เฟส (Single Phase)
- ระบบ 3 เฟส (Three Phase) หรือ 3 เฟส 4 สาย

ระบบควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้า มี 2 ชนิด คือ
- ควบคุมด้วยมือ (Manual)
- ควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automatic)
3. ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง
3.1 ก่อนใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทำความคุ้นเคยการทำงาน โดยศึกษาจากคู่มือ อุปกรณ์การควบคุม เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
สามารถควบคุมได้ทั้งระบบ Manual และ Automatic ศึกษาตำแหน่งของวาล์วที่ทำงานและ
อุปกรณ์การดับเครื่องจนเป็นที่เข้าใจ
(2) มีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(3) ตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง ต้องมีน้ำเต็มและฝาปิดหม้อน้ำไม่ชำรุด สายยางท่อน้ำอยู่ในสภาพดี
(4) ตรวจวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ต้องอยู่ในระดับที่กำหนด
(5) ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ สำหรับการเดินเครื่องใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อ
ระบบควบคุมตั้งอยู่ในตำแหน่ง Automatic
(6) ตรวจสอบระบบการประจุของแบตเตอรี่ของเครื่องประจุ
(7) ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ต้องไม่แห้ง ขั้วสายไฟของแบตเตอรี่ต้องสะอาดและแข็งแรง
(8) ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซลจากตัวเครื่องยนต  หากพบว่ามีการรั่วซึมให้
รีบ
แก้ไขหรือเรียกบริการจากช่างผู้ชำนาญ
(9) ตรวจสอบความตึงของสายพาน ต้องไม่หย่อนหรือตึงเกินไปโดยกดที่ระยะกึ่งกลางระหว่างพูเล่ของ
ใบ
พัดกับพูเล่ของไดชาร์ต น้ำหนักกดประมาณ 10 kg ตั้งความตึงสายพานให้ได้ประมาณ 11 ถึง 13
mm. สายพานหย่อนเกินมักก่อให้เกิดปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซลมีอุณหภูมิสูง และการประจุไฟ
ของ
ไดชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ต่ำเกินไป สายพานที่ตึงเกินไปจะทำให้ตัวสายพานและพูเล่ต่าง ๆ เสื่อมสภาพ
เร็วกว่าปกติ
(10) ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ ต้องอยู่ในสภาพดีไม่แตกชำรุด
(11) ตรวจสอบ Circuit Breaker ต้องอยู่ในสภาพดีและขั้วต่อสายไฟต่าง ๆ แน่นหนาแข็งแรง
(12) ทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยไม่ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบแรงดันของไฟฟ้าต้อง
อยู่
115
ในเกณฑ์ปกติ 220 V. โดยวัดจาก Line กับ Neutral หรือ 380 V. วัดระหว่าง Line กับ Line
(13) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ 50 ถึง 52 Hz
(14) ตรวจสอบแรงดันของน้ำมันเครื่องว่าปกติหรือไม่ (ดูจากมาตรวัดความดัน)หลีกเลี่ยงการเดินเครื่อง
ยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด เครื่องยนต์ใช้งานในสภาวะปกติ แรงดัน
น้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับกำหนดนี้จึงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุด
เมื่อเดินเบารอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa)
เมื่อเดินเครื่องใช้งานรอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa)
(15) ตรวจสอบอุณหภูมิที่มาตรวัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ต้องอยู่ในระดับปกติ อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
ต้อง
ไม่เกิน 95 °C
3.2 ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด
(2) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด
(3) ตรวจสอบกระแสการใช้งานของ Load ต้องไม่เกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(4) ตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด
(5) ตรวจสอบอุณหภูมิของเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด
(6) สังเกตและฟังเสียงที่เกิดจากอาการผิดปกติของเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
(7) ตรวจเช็คการทำงานของตู้ควบคุม
(8) ไม่ควรเปิดหรือปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น
(9) หากเกิดประกายไฟจากจุดต่าง ๆ หรือมีกลิ่นไหม้ ควันขึ้นให้ดับเครื่องยนต์แล้วแจ้งช่าง
(10) ควรมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเครื่องยนต์ขณะใช้งานตลอดเวลา


รูปที่ 8 แสดงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ถูกออกแบบไว้ในตู้เก็บเสียง เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีพื้นที่น้อย


รูปที่ 9 แสดงถึงห้องควบคุมที่มีความสะอาดเรียบร้อย เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


3.3 หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบรอยรั่วซึมของระบบน้ำหล่อเย็น รอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่น
(2) ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้ง โดยปัดฝุ่นผง เศษวัสดุที่ติดตามแนวหม้อน้ำ
(3) ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลังต่าง ๆ
(4) ตรวจสอบจุดต่อสายไฟต่าง ๆ
(5) ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
(6) ตรวจสอบหารอยปริร้าวของสายพานฉุดใบพัด และสายพานต่าง ๆ
(7) ทำความสะอาดสถานที่และเครื่องยนต์ ตู้ควบคุม
(8) ตรวจดูระดับน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับ
(9) ไล่ความชื้นออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงทุก ๆ สัปดาห์ (ถ่ายน้ำทิ้งจากชุดกรองน้ำมันเชื้อเพลิง)
(10) ตรวจสอบจดบันทึกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์

4. ขั้นตอนการบำรุงรักษา (Check List)
4.1 การบำรุงรักษาโดยผู้ใช้งาน
117
ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ
1. ทุกวันหรือ 20
ชั่วโมงการใช้งาน
- ทำความสะอาดโรงไฟฟ้า ตู้ควบคุม
- ตรวจระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
- ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ
- ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำและน้ำมันต่าง ๆ
- ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจความตึงสายพาน
- ตรวจสอบข้อต่อสายไฟ
2. ทำความสะอาดหม้อ
น้ำรังผึ้งด้านนอก
- ตรวจสอบเดินเครื่องยนต์และตรวจสอบค่าต่าง ๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า
ความถี่ อุณหภูมิเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมันเครื่อง
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ขั้วและสายแบตเตอรี่
- ตรวจสอบเครื่องประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่
- ไล่ความชื้นและน้ำออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก
4.2 การบำรุงรักษาโดยช่าง
ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ
1. ทุกรอบ 3 เดือน หรือ
250 ชั่วโมงการใช้งาน
- ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
- เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันหล่อลื่น
- ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
- ตรวจสอบท่อยางและเหล็กรัดท่อ
- ตรวจสอบน๊อตและสกรูของจุดต่อสายไฟ
- ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลัง
2. ทุกรอบ 6 เดือนหรือ
500 ชั่วโมงการใช้งาน
- เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
- เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ทุกรอบ 12 เดือนหรือ
1,000 ชั่วโมงการใช้งาน
- ปรับตั้งระยะห่างวาล์ว
- ถ่ายน้ำหล่อเย็น
- ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านใน
- ขันน๊อตฝาสูบและเสื้อสูบ
- ถ่ายน้ำและเศษสกปรกออกจากถังน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ
- ตรวจสอบรอยรั่วซึมที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจสอบ Shutdown Sensors

หมายเหตุ
- จากรายละเอียดการบำรุงรักษาข้างต้น เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งแนะนำให้ใช้กับเครื่องยนต์ทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้ควรศึกษาการ
บำรุงรักษาเครื่องยนต์จากหนังสือคู่มือของเครื่องยนต์โดยตรง (ถ้ามี) ทั้งในด้านวิธีปฏิบัติและระยะเวลาการบำรุงรักษา
                                               
รูปที่ 10 แสดงชุดชาร์ทแบตเตอรี่ ขนาด Input: 220 Volt Output: 2 Volt Amps: 10
                                               
รูปที่ 11 แบตเตอรี่รูปแบบต่างๆ ที่ใช้ในบ้านเราส่วนมากจะเป็นชนิด 12 V
รูปที่ 12 แสดงชุดควบคุมการทำงานของระบบ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุม
รูปที่ 13 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 kW ใช้เครื่องยนต์ขนาด 16 สูบเป็นตัวต้นกำลัง
                                                           
รูปที่ 14 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 500 KW ที่นิยมใช้ยี่ห้อหนึ่ง

         







6. ข้อควรระวังในการใช้งาน
6.1 ก่อนจะตรวจเช็คอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถ้าระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบจ่าย
กระแสอัตโนมัติ ให้ปรับไปที่ตำแหน่ง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออกเสียก่อน เพื่อป้องกัน
เกิด
อุบัติเหตุจากเครื่องยนต์สตาร์ทเองขณะทำการตรวจเช็ค
6.2 ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่
6.3 ไม่จ่ายกระแสเกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
6.4 ไม่ควรปรับอุปกรณ์ใด ๆ ขณะจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้ามีความผิดปกติใด ๆ ให้งดจ่าย Load แล้วจึงทำ
การแก้ไข
6.5 ไม่ควรทิ้งเครื่องยนต์โดยไมมี่ผู้ดูแลขณะเครื่องกำลังทำงานอยู 
6.6 ไม่ควรเปิด-ปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น
6.7 สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีการระบายอากาศเป็นอย่างดีและไม่ควรมีฝุ่นละออง ไม่เป็น
สถานที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เท่านั้น
6.8 ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าอยู่เสมอ
6.9 ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์
6.10 ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องเดินสายดินโดยต่อกับแท่งทองแดงหรือ Ground Rod
ที่
ฝังอยู่ใต้ดินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ต้องต่อทั้งตัวเครื่องยนต์และตู้ควบคุม
7. แนวทางการปฏิบัติที่ควรยึดถือในการใช้งาน
7.1 ทำการบำรุงรักษาชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามกำหนดเวลาการบำรุงรักษา ซึ่งรวมถึงการ
ตรวจสอบก่อนการเดินเครื่องยนต์
7.2 อย่าใช้งานเครื่องยนต์โดยไม่ใส่ตัว Themostat
7.3 ใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพดี
7.4 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปราศจากการเจือปนของน้ำหรือสารอื่น ๆ
7.5 ตระหนักถึงข้อควรระวังด้านความปลอดภัย
7.6 อย่าใช้งานชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกินพิกัด
7.7 ควรหลีกเลียงสิ่งต่อไปนี้คือ
7.7.1 หลีกเลี่ยงการใช้งานจนเครื่องยนต์ร้อนจัด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต้องไม่เกิน 95 °C
7.7.2 หลีกเลี่ยงการใช้งานในลักษณะอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 60 °C การใช้งานอย่างต่อ
124
เนื่องโดยที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 60 °C อาจเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์ เนื่องจาก
อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้
มีการสะสมของคาร์บอน จนทำ ให้แหวนลูกสูบและหัวฉีดชำรุด นอกจากนั้นน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่ตกค้างจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เมื่อปนกับน้ำมันหล่อลื่นในเสื้อสูบ จะทำให้
น้ำมันหล่อลื่นเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น
7.7.3 หลีกเลี่ยงการเดินเครื่องยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำเกินเกณฑ์กำหนด
เครื่องยนต์ใช้งาน ในสภาวะปกติ แรงดันน้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับกำหนด
ดังนี้ จึงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุด กรณี เมื่อเครื่องเดินเบา รอบเครื่องประมาณ 800
RPM 10 PSI (0.07 Mpa) และเมื่อเครื่องใช้งาน รอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40
PSI (0.28 Mpa)
7.7.4. หลีกเลี่ยงการใช้งาน เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ชำรุด โดยทั่วไปแล้วการชำรุดของ
ชิ้นส่วน
ต่าง ๆมักมีสัญญาณบอกเหตุก่อนที่ชิ้นส่วนนั้น ๆ จะชำรุด ผู้ใช้อาจทราบได้จากการ
เปลี่ยน
แปลงในสมรรถนะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่นมีเสียงผิดไปจากปกติ หรือการสังเกต
ด้วย
สายตา ข้อสังเกตบางประการ เช่น
- เครื่องยนต์สั่นแรงเกินไป
- เครื่องยนต์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสูญเสียกำลังทันทีทันใด
- เสียงของเครื่องยนต์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผิดไปจากสภาวะปกติ
- ไอเสียมากกว่าปกติ
- แรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าปกติ
- น้ำมันหล่อลื่น น้ำหล่อเย็นรั่วซึม
- อื่น ๆ
ตารางการตรวจสอบบำรุงรักษา

1.คุณศรันย์ ตราโชติ 092-2539533
2.คุณวิรินทร์ญา กิตติพิริยากรณ์ 083-3064114

E-mail: ups@chuphotic.com , www.chuphotic.com 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น